Cranberry คืออะไร?

Credit : http://www.siamhighland.com/cranberry/
Cranberry คืออะไร
แครนเบอร์รี (Cranberries) เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี่โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon ผลไม้แครนเบอร์รี่ถือกำเนิดขึ้นในแถบทางเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดาโดยจะมีมากกว่าแครนเบอร์รี่ที่เกิดตามธรรมชาติในทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วทวีปยุโรปค่ะ มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรีที่มีผลสุกแล้วเป็นสีแดงสดอยู่ในลักษณะเป็นพวง ผิวของผลแครนเบอร์รี่จะลื่นและมันวาว รสชาติเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอม ซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียนิยมนำมาปรุงอาหารและจัดเตรียมคล้ายกับวันสำคัญตามประเพณีของชาวอเมริกัน โดยนำมาอบแห้งและเติมรสชาติให้มีความหวานจากน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ล พบว่าสมัยอาณานิคมชาวอาณานิคมได้เริ่มนำผลไม้แครนเบอร์รี่ส่งออกกลับบ้านกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ค่ะ แครนเบอร์รี่จะสามารถเก็บได้เป็นปีถ้าเรานำไปเก็บในรูปแบบแช่แข็ง ต้นแครนเบอร์รี่จะเริ่มสุกงอมเป็นสีแดงฉ่ำมากพร้อมเก็บในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเก็บโดยการแช่แข็งและนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานกันได้ตลอดทั้งปีค่ะ
สารสำคัญใน Cranberry คืออะไร
สารสำคัญที่พบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านมะเร็ง ลดการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งมีสารสำคัญหลายกลุ่มดังต่อไปนี้ (1-6)
- Proanthocyanidins
แครนเบอร์รี่ มีสารกลุ่ม flavan-3-ols จับกันเป็นโครงสร้างสั้นๆ (oligomers) โดยมีโครงสร้างพันธะแบบ A-type 51-91% จึงเรียกสารนี้ว่า A-type procyanidins (PACs) ซึ่งจะแตกต่างจากผลไม้ชนิดอื่นที่มักพบว่าเป็น B-type ซึ่ง A-type procyanidins นี้เองจะมีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ยึดเกาะกับผนังของทางเดินปัสสาวะ ทำให้ป้องกันการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ (7-9)
- Anthocyanins
Anthocyanin ที่พบได้แก่ cyanidin, peonidin, malvidin, pelargonidin, delphinidin และ petunidin (10)
- Phenolic acids
ได้แก่ hydroxybenzoic และ hydroxycinnamic acids เช่น p-coumaric, sinapic, caffeic และ ferulic acids (14-16)
- Terpenes
เช่น Ursolic acid ซึ่งให้ฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยแครนเบอร์รี่มีอนุพันธ์ของกรด Ursolic acid ที่พบได้ยากในพืชอื่นได้แก่ cis-3-O-p-hydroxycinnamoyl ursolic acid และ trans-3-O-p-hydroxycinnamoyl ursolic acid และสารกลุ่ม iridoids ที่พบว่ามีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียยึดเกาะกับผนังของทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ 10-p-trans- and 10-p-cis-coumaroyl-1S-dihydromonotropein และ 2-O-(3,4-dihydroxybenzoyl)-2,4,6-trihydroxyphenylmethylacetate (17-19)
- Flavonols
ประกอบไปด้วย quercetin, myricetin และ kaempferol โดยพบว่าอยู่ในรูป Quercetin 3-galactoside มากที่สุด ในผลไม้ทั่วไปจะมี flavonol น้อยกว่า mg/100 g ในขณะที่แครนเบอร์รี่มีสูงถึง 20–40 mg/100 g
Cranberry มีประโยชน์อะไรบ้าง
- ดูแลระบบทางเดินปัสสาวะ : แครนเบอร์รี่ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยยับยั้งไม่ให้แบคทีเรียเกาะติดกับผนังกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณจนก่อนโรคได้ นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนโครงสร้างของแบคทีเรีย ขับขวางการส้รางโปรตีน P-fimbrial ที่ใช้ยึดเกาะกับทางเดินปัสสาวะ เมื่อรับประทานแครนเบอร์รี่ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 3 เดือน พบว่าอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลดลง (20)
- ควบคุมระดับไขมันในเลือด : จากการศึกษาในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงพบว่า เมื่อรับประทาน anthocyanins 320 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถละ LDL-C ซึ่งเป็นคอเรสเตอรอลร้าย และเพิ่ม HDL-C ซึ่งเป็นคอเรสเตอรอลที่ดี ซึ่งให้ผลสอดคล้องกันทั้งการทดลองในกลุ่มคนอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ซึ่งเชื่อว่ากลไกเกิดจากการเพิ่ม LDL receptor ที่เซลล์ตับมากขึ้น และสาร anthocyanin สามารถยับยั้งเอนไซม์ cholesterol ester transfer protein (CETP) ที่ทำหน้าที่สลาย HDL-C จึงทำให้มี HDL-C มากยิ่งขึ้น (5,21-23)
- ลดการอักเสบ : เมื่อรับประทานสารสกัดจากแครนเบอรร์รี่ 320 มิลลิกรัมต่อวันพบว่าสามารถลด CRP ได้ ซึ่ง CRP เป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายมีภาวะการอักเสบนั่นเอง (21)
- ช่วยกำจัดเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร: เมื่อรับประทานแครนเบอรร์รี่ร่วมกับยาฆ่าเชื้อ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ต่อเนื่องพบว่ามีการกำจัดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) ได้ดีมากกว่าการไม่ได้รับประทานแครนเบอร์รี่ ซึ่งหากมีการติดเชื้อ pylori จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ กลไกเกิดจากแครนเบอร์รี่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเปลี่ยนเป็น coccoid form ซึ่งเปนสภาวะที่ไม่เหมาะสมในการเจริญเติบโตได้ (24-25)
สารสกัดจาก Cranberry แตกต่างกันหรือไม่
ปริมาณ Anthocyanin ที่พบในแครนเบอร์รี่นั้นแตกต่างกันตามอายุของผลไม้ การเพาะปลูก รวมทั้งขนาดของผลก็เป็นปัจจัยให้สารสำคัญไม่เท่ากันได้ (11-13)
ผลข้างเคียงจากสารสกัด Cranberry
เนื่องจากแครนเบอร์รี่กรดออกซาลิกและยังสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านการแข็งตัวของยาบางชนิด ผู้ที่มีปัญหาทางเดินปัสสาวะและผู้ที่รับประทาน warfarin ควรจำกัดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยค่ะ อย่างไรก็ตามการบริโภคแครนเบอร์รี่ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีฟรุกโตสซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณถ้าเผลอรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปค่ะ